ประกันแบบไหนที่ควรเลี่ยง

ประกันแบบไหนที่ควรเลี่ยง

ประกันแบบไหนที่ควรเลี่ยง

ทุกๆ การตัดสินใจของเรานั้น เป็นก้าวสำคัญในชีวิตเกือบทั้งสิ้น ถึงแม้เราอาจจะมองไม่ไกลแต่ถ้าเราวางแผนได้ดีก็ย่อมที่จะเซฟในทุกๆ เรื่องเลยหล่ะครับ เช่นเดียวกับการเลือกประกันที่เหมาะสมกับเราและ “ประกันแบบไหนที่ควรเลี่ยง” ด้วยเช่นกัน วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกันครับ

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ประกัน

“การประกัน (Life Insurance)” หมายถึง การที่บุคคลผู้หนึ่งเรียกว่า “ผู้เอาประกันภัย” ได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งเรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ให้กับบริษัทประกันชีวิต เพื่อซื้อความคุ้มครองการเสียชีวิต ครอบคลุมไปถึงการสูญเสียอวัยวะ การทุพพลภาพ การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย ภายในเวลาที่กำหนด หรือมีอายุยืนยาวจนครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยสามารถแบ่งออกเป็นข้อๆ สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องอันได้แก่…

1.  ผู้รับประกันภัย คือบริษัทประกันชีวิต ซึ่งหมายถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิต เพื่อรับประกันต่อความสูญเสียหรือความเสียหายต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล โดยสัญญาว่าจะจ่ายชดเชยให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับผลประโยชน์เมื่อมีการเสียชีวิต และอาจมีความคุ้มครองอื่น ๆ เช่น การประกันอุบัติเหตุและสูญเสียอวัยวะ การประกันกรณีทุพพลภาพ หรือการประกันสุขภาพ (ดูรายชื่อบริษัท)

2.  ผู้เอาประกันภัย คือบุคคลที่ตกลงทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทฯ โดยอาศัยสาเหตุของการมีชีวิตหรือการตายเป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินประกันชีวิต

3.  ผู้รับประโยชน์ คือบุคคลที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตว่าจะเป็นผู้รับเงินประกันชีวิตตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต

หลักการเลือกประกันภัยที่เหมาะสมกับเรา

●พิจารณารายได้ การทำประกันนั้นอาจถือเป็นหนึ่งในการออมทางเลือกที่หลายคนให้ความไว้วางใจ ที่นอกจากจะเป็นการเก็บเงินก้อนแล้ว ยังเป็นการรองรับความเสี่ยงที่ดีอีกด้วย แต่ทว่าหลายคนก็เลือกจะทำประกันที่มีวงเงินสูง ทำให้ต้องจ่ายเบื้ยประกันสูงตาม เราอาจมั่นใจกับการประกันภัยดังกล่าวในระยะสั้น ทว่าระยะยาวนั้นอาจก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินได้ ประกันชีวิตที่เหมาะสมคือ 10-20% ของรายได้

●พิจารณาความเสี่ยงด้านสุขภาพ ซึ่งแม้ว่าจะดูแลสุขภาพดีแค่ไหนแต่ความเสี่ยงในโรคภัยก็ยังคงเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ การทำประกันสุขภาพไว้ล่วงหน้าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับการแบ่งเบาความเสี่ยงที่อาจเกิดในอนาคต

●พิจารณาความเสี่ยงในการทำงาน รวมไปถึงการเดินทางก็นับเป็นความเสี่ยงประการหนึ่ง หากทำงานใกล้บ้าน งานออฟฟิศ อาจใช้เป็นการทำประกันสุขภาพ ที่มีความเกี่ยวข้องกับออฟฟิศซินโดรม แต่ถ้าออกต่างจังหวัดบ่อย งานมีความเสี่ยงสูง ประกันอุบัติเหตุและประกันชีวิตอาจมีความสำคัญมากขึ้น

●พิจารณาจากการแผนประกันชีวิต ข้อสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดนี้จะทำให้คุณเปรียบเทียบแผนประกันชีวิตของบริษัทต่างๆ ด้วยค่าเบี้ยประกันภัยที่ไม่หนีกันมากนัก แต่คุ้มครองได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นควรเลือกประกันที่แผนยืดหยุ่นและเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเราให้มากที่สุดนั้นเองครับ

ประกันภัยแบบไหนที่ไม่ควรทำ

ประกันภัยที่มีเบี้ยประกันที่เกินตัวและเกินความจำเป็นของเราไม่ควรทำเป็นอย่างมากครับ เพราะจะทำให้สภาพคล่องทางการเงินของเราจะเสีย แถมอาจจะเป็นหนี้เสียอีกด้วยครับ ดังนั้นควรทำอะไรที่พอดีๆ กันนะครับ

สองสิ่งที่ทำให้ประกันสุขภาพน่าทำ

●ลดความเสี่ยงและเป็นหลักประกันให้ครอบครัว เวลาป่วยมีเงินรักษาเพียงพอ ยามที่เจ็บป่วย ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล ภาระเรื่องค่าใช้จ่ายอาจจะเป็นภาระใหญ่ที่ทำให้คุณ และคนในครอบครัวต้องเป็นกังวล เพราะเงินทั้งหมดที่มีอาจต้องหมดไปกับการรักษา “ประกันสุขภาพ” จึงเป็นตัวเลือกที่ดี เป็นหลักประกันให้หมดกังวลในภาระเรื่องเงินหากเจ็บป่วย

●ช่วยเพิ่มความอุ่นใจไม่ต้องห่วงเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะการทำประกันจะช่วยให้คุณสามารถวางใจในการใช้ชีวิตและไม่ต้องห่วงเรื่องค่ารักษาครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ ประกันแบบไหนที่ควรเลี่ยง ที่เราได้รวบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกัน คิดว่าน่าจะช่วยให้เข้าใจกันมากขึ้นนะครับ